
ฮอร์โมน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารและทำหน้าที่ร่วมกับอวัยะต่างๆ ในร่างกาย โดยฮอร์โมนจะหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อและซึมเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นจะอาศัยระบบการไหลเวียนของกระแสเลือด ส่งต่อไปยังเซลล์หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง แค่ปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็สามารถสร้างผลกระทบให้กับร่างกายได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว ฮอร์โมนจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์

ฮอร์โมน เพศหญิง
ร่างกายของผู้หญิง จะอยู่ภายใต้อิทธิพลการควบคุมของฮอร์โมน โดยเฉพาะการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายหมายความว่าหากระดับฮอร์โมนของคุณขาดสมดุล มีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดหลากหลายปัญหาสุขภาพ ในวัยเจริญพันธุ์หากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล จะทำให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เช่น สิวขึ้น ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าง่าย รอบเดือนผิดปกติ ส่งผลต่อปัญหาการมีบุตรยาก สำหรับหญิงวัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงจะต่ำลงมาก ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ความจำแย่ อารมณ์ฉุนเฉียว กระดูกบาง ผิวเหี่ยว
ฮอร์โมนหลัก ๆ ที่มีผลต่อร่างกายของผู้หญิง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน – เป็นฮอร์โมนหลักของผู้หญิง และมีหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน – เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตก และการมีประจำเดือน ฮอร์โมนนี้มีความสำคัญอย่างมากกับการตั้งครรภ์ในระยะแรก
- ฮอร์โมนคอร์ติซอล – เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่สำคัญในการตอบสนองต่อความเครียด และทำหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อตอบสนองต่อความเครียด แต่หากหลั่งออกมาในปริมาณมากสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้
- ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ – ฮอร์โมนเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ควบคุมการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย และระบบการเผาผลาญภายในร่างกาย เป็นต้น
ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ รอบของฮอร์โมนแต่ละเดือนจะสัมพันธ์กันกับรอบประจำเดือน เมื่อระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอาจมีผลกระทบต่อความอยากอาหารและภาวะทางอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลรุนแรง และอาจก่อให้เกิดความผิดปกติด้านอารมณ์ ยิ่งไปกว่านั้นระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลอาจ ทำให้เกิดน้ำหนักส่วนเกิน รอยด่างดำบนใบหน้า และระดับพลังงานที่ลดลงได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ฮอร์โมน เพศชาย
โดยส่วนใหญ่ผู้ชายที่อายุมากขึ้น จะเริ่มตระหนักได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของระดับพลังงานในร่างกาย รวมถึงความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการนอน และมักละเลยที่จะทำความเข้าใจว่า นี่คือความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เป็นไปตามวัยเมื่ออายุมากขึ้น สิ่งนี้คล้ายคลึงกับภาวะหมดประจำเดือนของในผู้หญิง แต่ความแตกต่างนี้อาจนำไปสู่ข้อพึงสังเกตที่เรียกว่า “ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย”และหากภาวะนี้ไม่ได้รับการฟื้นฟูที่ถูกต้อง ภาวะระดับฮอร์โมนเพศชายขาดความสมดุลนี้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการต่อสุขภาพโดยรวม ตั้งแต่บุคลิกภาพ รวมถึงอารมณ์และความรู้สึก
- ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone)
เทสโทสเตอร์โรนคือฮอร์โมนเพศที่สำคัญที่สุดของผู้ชาย มีหน้าที่สำคัญคือกระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชาย และรักษาให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องความต้องการทางเพศ, การสร้างเชื้ออสุจิ, ปริมาณของขนเพชรและขนตามร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก สมองจะควบคุมการสร้างเทสโทสเตอร์โรนซึ่งผลิตจากลูกอัณฑะ ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ดังนี้
- ความต้องการทางเพศลดลง
- ภาวะแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์ของอวัยวะเพศชาย
- ปริมาณของตัวอสุจิมีจำนวนน้อย
- หน้าอกโตขึ้น
ฮอร์โมนเหล่านี้ ทำหน้าที่ในการรักษาและคงสภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย อันประกอบด้วย ระบบทางเดินหายใจ ระบบความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ระบบเผาผลาญของร่างกาย อารมณ์และความรู้สึก กระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ และอีกหลายหน้าที่สำคัญที่ทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ และหากปราศจากระดับฮอร์โมนที่เหมาะสมแล้ว เพศชายอาจจะรู้สึกได้ถึงอาการและผลข้างเคียงหลายประการ อาทิเช่น ความหดหู่ ความเหนื่อยล้าสะสม อาการผมร่วง การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว สำหรับผู้ชายหลายคนการมองข้ามปัญหาขาดสมดุลฮอร์โมนโดยไม่ได้รับการฟื้นฟู อาจก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาหลายประการ และส่งผลกระทบร่างกาย ซึ่งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพในระยะยาว

การผลิตฮอร์โมนที่มีความสมดุล อาจเป็นผลจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาวะดี การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ การจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม แต่สำหรับบางราย ปัจจัยการขาดสมดุลฮอร์โมนอาจเกิดจากสาเหตุที่ซับซ้อนยิ่งกว่า ดังนั้นหากคุณสงสัยว่าร่างกายของคุณกำลังกำลังเผชิญภาวะฮอร์โมนขาดสมดุลอยู่หรือไม่ สิ่งที่ควรทำที่สุดคือการตรวจสอบระดับฮอร์โมน ซึ่งที่ GNA Medical Center พร้อมให้บริการตรวจฮอร์โมน เพื่อช่วยระบุว่าร่างกายของคุณผลิตฮอร์โมนอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่