ฟิลเลอร์ เพื่อความสวยงาม

ฟิลเลอร์ คืออะไร

ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภท Hyaluronic Acid หรือ HA สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบสารธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วในร่างกายของมนุษย์เรา โดยสารกลุ่มนี้จะมีอยู่มากในชั้นผิวหนังและกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของคอลลาเจน

และมีส่วนช่วยในการเติมเต็มใบหน้า ริ้วรอย รอยหมองคล้ำให้ดูจางลง ช่วยแก้ไขโครงสร้างใต้ผิวหนัง ส่งผลให้ใบหน้าบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เต่งตึงขึ้น ดูมีน้ำมีนวล อีกทั้งยังเป็นการเติมเส้นใยคอลลาเจนที่หายไป ให้ผิวนั้นดูอ่อนเยาว์ ริ้วรอยร่องลึกดูตื้นขึ้น ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย

ประเภทของฟิลเลอร์

1. Temporary filler (แบบชั่วคราว)

       ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน นานถึง 2 ปี สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น ฟิลเลอร์กลุ่มไฮยารูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ HA ที่เรารู้จักกัน

2. Semi Permanents Filler (แบบกึ่งถาวร)

       ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร สามารถอยู่ได้นานประมาณ 2-5 ปี ยาวนานกว่าแบบแรก มีความปลอดภัยรองลงมาจากแบบแรก เช่น แคลเซียมฟิลเลอร์ ที่มีส่วนผสมของแคลเซียม ไฮดรอกซิลอะพาไทต์ (Hydroxyapatite)

       สารเติมเต็มกลุ่มกึ่งถาวรนี้มีใช้ในต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษาในประเทศไทย หากเกิดผลข้างเคียงหลังการรักษาจะสามารถทำการแก้ไขได้ยากกว่าสารเติมเต็มในกลุ่มที่ย่อยสลายได้

3. Permanent Filler (แบบถาวร)

       ฟิลเลอร์แบบถาวร เป็นสารเติมเต็มพวก ซิลิโคน หรือ พาราฟิน หลังฉีดไปแล้วผิวจะไม่สามารถดูดซึมฟิลเลอร์ชนิดนี้ได้ ทำให้คงค้างอยู่ในชั้นผิวของเรา โดยไม่สามารถสลายไปตามธรรมชาติ มีผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น ฟิลเลอร์ไหล ฟิลเลอร์ย้อยผิดรูป

       ไม่แนะนำให้ฉีดสารเติมเต็มชนิดนี้ เพราะหากต้องการนำออก อาจจะไม่สามารถนำออกได้หมด ซึ่งเกิดอันตรายในระยะยาวแก่ร่างกายได้

ฟิลเลอร์ชนิดที่สลาย และไม่สลาย

สารที่นำมาใช้ฉีดเพื่อเติมเต็มนั้น โดยรวมเราจะเรียกกันว่า “ ฟิลเลอร์ ” (Filler) ทั้งหมดโดยฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าสู่ผิวหนังนั้น มีหลากหลายประเภท บางประเภทให้ผลลัพธ์ยาวนาน และบางประเภทก็ให้ผลลัพธ์เพียงชั่วคราว ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อก่อนหน้า

       หากเป็นประเภทฟิลเลอร์ที่ทำจากสารที่ร่างกายสามารถค่อย ๆ สลายออกไปได้ หรือ ฟิลเลอร์ธรรมชาติที่มาจากร่างกายของเราเอง ซึ่งแต่ละชนิดนั้น มีข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไป

1. ฟิลเลอร์ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ 

1.1 ฟิลเลอร์สารสังเคราะห์

  • ฟิลเลอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ ฟิลเลอร์กลุ่ม กรดไฮยาลูรอนิก (HA) สารชนิดนี้จะสามารถจับตัวกับน้ำและพองขึ้นเป็นเจล มีคุณสมบัติส่งผลให้ผิวหนังเต่งตึง มีอายุประมาณ 6-12 เดือน และเป็นฟิลเลอร์ชนิดเดียวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยรับรองความปลอดภัย
  • แคลเซียมฟิลเลอร์ สารชนิดมาจากแคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทท์ (Calcium Hydroxyapatite หรือ CaHA) ฟิลเลอร์ชนิดนี้สามารถฉีดเพื่อแก้ไขเติมเต็มได้เป็นอย่างดี นอกจากการฉีดบนใบหน้าและมือแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการเติมหน้าอกและสะโพกได้อีกด้วย เนื่องจากอนุภาคของ CaHA  หลังเข้าสู่ใต้ผิวจะเปลี่ยนสภาพเป็นเหมือนแคลเซี่ยมของกระดูก ผลการรักษาอยู่ได้นาน 2 ปี
  • กรดโพลี แอล แลคติก (Poly L lactic acid หรือ PLLA) คือ สารอุ้มน้ำที่มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกายและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ PLLA เป็นฟิลเลอร์ที่ได้ผลอยู่นานกว่าไฮยารูลอนิกแอซิด ให้ผลลัพธ์ยาวนานถึง 2-4 ปี

1.2 ฟิลเลอร์จากร่างกายของคนไข้เอง

  • การฉีดฟิลเลอร์ชนิดนี้มักใช้ไขมันในร่างกายของคนไข้เองมาฉีดเพื่อเติมเต็ม ปัจจุบันเรามักจะเรียกกันว่าการ ฉีดไขมัน หรือ Fat grafting อาจจะนำมาจากบริเวณต้นขา สะโพก หรือหน้าท้อง และจะมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน คือ การนำไขมันออกมาโดยวิธีการดูดไขมัน และฉีดไขมันเข้าไปยังส่วนที่ต้องการเติมเต็ม ก็สามารถทำได้ในคราวเดียวกัน 
  • ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้ฟิลเลอร์จากไขมันตัวเองนั้นจะเป็นแบบกึ่งถาวร อาจต้องมีการฉีดหลายครั้งในช่วงแรก เนื่องจาการฉีดไขมันนั้น เป็นการปลูกถ่ายที่ย้ายไขมันจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดของร่างกาย อัตราการติดของไขมันนั้นจึงไม่ 100% และไขมันนั้นก็สามารถสลายไปได้ หากได้รับการดูแลหลังฉีดไขมันที่ไม่ถูกวิธี

2. ฟิลเลอร์ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึม 

  • โพลีเมธิลเมธาไครเลต บีทส์ (Polymethylmethacrylate beats หรือ PMMA microspheres) เป็นสารเติมเต็มจำพวก ซิลิโคน หรือ พาราฟิน คือ พลาสติกสังเคราะห์ เป็นสารสังเคราะห์เช่นเดียวกับ PLLA ที่มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกาย แต่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้
  • ข้อเสีย คือ การเอาออกหรือไม่สามารถทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ การเอาออกเพียงทางเดียวคือต้องตัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นออกไป

ข้อปฏิบัติก่อนฉีดฟิลเลอร์

  1. งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนฉีด 24 ชั่วโมง เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เลือดแข็งตัวยาก จะส่งผลให้เกิดอาการช้ำได้ง่าย ซึ่งจะดีที่สุดหากสามารถเลี่ยงได้ 3 วัน
  2. หลีกเลี่ยงอาหารเสริมหรือยาบางชนิด จะดีที่สุดหากสามารถหลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อการทำให้เกิดเลือดแข็งตัว อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เช่น ยาแก้ปวด กลุ่ม NSAIDs, แอสไพริน (aspirin) และ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  3. เลี่ยงการใช้สมุนไพร  เช่น น้ำมันตับปลา แปะก๊วย โสม เป็นต้น
  4. ควรแจ้งประวัติการใช้ยาหรือโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบก่อนฉีด
  5. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม 2-3 วันก่อนฉีด เนื่องจากอาหารที่มีรสชาติเค็มจะทำให้อาการน้ำคั่ง ส่งผลให้ร่างกายมีโอกาสบวมมากขึ้น
  6. หากมีโรคประจำตัว หรือตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบทุกครั้ง

ข้อปฏิบัติหลังฉีดฟิลเลอร์

  1. ประคบเย็นเบา ๆ บริเวณที่ฉีดครั้งละ 10 นาที ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หากมีบริเวณที่ช้ำ
  2. งดการออกกำลังกาย หรือทำกิจจกรรมที่สร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย เช่น การซาวน่า เลเซอร์ร้อนที่ลงผิวชั้นลึกทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  3. งดกดนวดบริเวณที่ทำการรักษา อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
  4. งดแอลกอฮอล์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  5. งดแต่งหน้าหรือใช้ครีมบำรุงทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  6. ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อความชุ่มชื้นและให้ฟิลเลอร์ที่ฉีดไปอุ้มน้ำและฟูขึ้น
  7. สามารถรับประทานยาได้หากมีปวดในบริเวณที่ฉีด แพทย์แนะนำกลุ่มยาแก้ปวด พาราเซตามอล
Message us